Watermelon Riot

“Watermelon Riot” ศึกปะทะกลางเมืองปานามา เริ่มต้นจากคนกินแตงโมแล้วไม่ยอมจ่ายตังค์ 🍉



เรื่องนี้เกิดขึ้นในวันที่ 15 เมษายน 1856 ซึ่งในยุคนั้น คอคอดปานามา (Isthmus of Panama) เป็นสถานที่ ที่นิยมมากๆของชาวสหรัฐฯ ในการที่จะเดินทางข้ามประเทศด้วยการย่นระยะ เพียงไม่กี่กิโล นั่นจึงทำให้ สหรัฐฯเข้ามาพัฒนาพื้นที่ตรงจุดนั้นอย่างต่อเนื่อง และสถานที่แห่งนั้น ก็เต็มไปด้วย หน่วยธุรกิจของชาวอเมริกา และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เข้ามาข้ามฟากทะเล ซึ่งก่อให้เกิดรายได้กับชาวบ้านท้องถิ่นที่ใช้บริการขนส่งข้ามฟากของพวกเขาเป็นอย่างมาก

และด้วยกระแสทองคำในแคลิฟอร์เนีย ยิ่งทำให้การจราจรในปานามานั้น เนืองแน่นได้แทบทุกวันทำการ
.
สิ่งที่สหรัฐเข้ามาพัฒนาในปานามาตอนนั้นคือ ทางรถไฟในปานามา ซึ่งก่อนที่ทางรถไฟจะแล้วเสร็จในปี 1855 เศรษฐกิจในท้องถิ่นของคนปานามาเติบโตจากการขนส่ง ซึ่งทุกคนที่เข้ามาที่แห่งนี้ต้องพึ่งพาการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารผ่านเรือล่องแม่น้ำและรถไฟล่อของพวกเขา
.
การมาของทางรถไฟจากอเมริกา ทำให้เกิดความผันผวนทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงสำหรับชาวปานามาหลายๆคนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนี้ มีคนตกงานในพื้นที่จำนวนมาก พวกเขาสูญเสียอาชีพ สูญเสียรายได้ที่เคยได้รับ ซึ่งส่งผลต่อการดำรงชีวิตของพวกเขา ทำให้พวกเขานั้นต้องลำบากยากจนข้นแค้นลง
.
ชาวบ้านทั้งหลายในเมืองปานามา เกิดความไม่พอใจต่อทางรถไฟและชาวอเมริกัน เพราะมันทำให้ประชาชนในพื้นที่นั้นต้องเดือดร้อนกันอย่างมาก ซึ่งพวกชาวบ้านได้เก็บความแค้นที่มีต่อชาวอเมริกันไว้อย่างเต็มอก จากความคิดที่ว่า พวกอเมริกันได้เข้ามาเบียดเบียนหนทางทำมาหากินของพวกเขา
.
ศึกวันแตงโมของปานามานั้น เริ่มต้นในตอนบ่ายของวันที่ 15 เมษายน 1856 รถไฟขบวนหนึ่งได้เดินทางมาถึงปานามาซิตี้ซึ่งบรรทุกผู้โดยสารที่มุ่งหน้าสู่แคลิฟอร์เนียเปนจำนวน 1,000 คน รวมไปถึงผู้หญิงและเด็กๆจำนวนมาก
.
ด้วยกระแสน้ำที่ลงในเวลาที่พวกเขามาถึง ทำให้พวกเขาไม่สามารถขึ้นเรือกลไฟของสหรัฐฯได้ ซึ่งเรือที่จะออกเดินทางไปซานฟรานซิสโก มีอันต้องดีเลย์เพื่อรอกระแสน้ำขึ้น ผู้โดยสารจำนวนหนึ่งได้ทำการเดินสำรวจพื้นที่โดยรอบของ La Cienaga ย่านที่ยากจนซึ่งเป็นบ้านของทาส กรรมกร ช่างฝีมือ และผู้อพยพใหม่ เพื่อนเป็นการฆ่าเวลา
.
เวลาล่วงเลยไปจนถึง 6 โมงเย็น กลุ่มผู้โดยสารชาวอเมริกันที่กำลังเดินเล่นกันประมาณ 3 ถึง 4 คนได้เดินผ่านร้านผลไม้ที่ขายโดยนาย Jose Manuel Luna บริเวณใกล้ๆสถานีรถไฟ ผู้โดยสารคนหนึ่งที่ชื่อ “Jack Oliver” ได้หยิบแตงโมมา 1 ชิ้นแล้วกินเข้าไป โดยบอกกับทาง Luna ว่าเมื่อเขากินเสร็จแล้วจะจ่ายให้ 1 เหรียญ
.
แต่สิ่งที่ Jack Oliver ทำลงไปคือ เค้ากินแตงโมไป 2-3 คำแล้วก็โยนลงพื้น และก็ไม่ยอมจ่ายเงินตามที่พูด เพราะ Oliver คิดว่าแตงโม 1 ชิ้นนั้นราคามันแพงเกินไป ซึ่ง Luna ก็ได้ทักท้วง และทวงถามค่าแตงโมตามที่ Oliver พูดไว้ว่าจะจ่าย และเขา 2 คนก็ได้ทะเลาะโวยวายใส่กัน หลังจากที่พวกเขาถกเถียงกัน Oliver ก็ดึงปืนออกมาขู่ใส่ Luna แต่ทว่า Luna ก็ชักมีดออกมาสู้ด้วยเช่นกัน
.
จริงๆเรื่องราวควรจะดีขึ้น เพราะในตอนนั้นมีผู้โดยสารอีกคนหนึ่ง ได้ก้าวเข้ามาในวงทะเลาะ และจ่ายเงินให้กับ Luna สำหรับผลไม้ แต่ทันทีหลังจากที่เขาได้จ่ายเงินแล้วกำลังจะจบปัญหาตรงนั้นลง
.
ก็มีชายคนหนึ่งที่เป็นชาวบ้านในระแวกนั้นชื่อว่า Miguel Habrahan ได้พุ่งตัวออกมาจากกลุ่มชาวบ้านที่กำลังมุงดูเหตุการณ์ และเข้าฉกเอาปืนจาก Oliver มาได้และวิ่งหนีเข้าไปในบริเวณใกล้เคียง
.
หลังจากนั้นไม่นาน ก็เกิดมีกลุ่มชาวบ้านที่เป็นผู้ชายในระแวกนั้นอีกหลายร้อยคน ก็ได้ถือมีด หิน และอาวุธอื่นๆ ที่พวกเขามี เดินทางเข้ามาที่จุดเกิดเหตุ ประจันหน้ากับกลุ่มชาวอเมริกันที่อยู่ตรงนั้น
.
และการต่อสู้กับชาวอเมริกันที่ข่มเหงพวกเขา ก็เริ่มต้นขึ้น
.


การต่อสู้จากชาวบ้านของปานามา โดยชายฉกรรจ์หลายร้อยคนนั้น ได้พุ่งเป้าเข้าทำลายธุรกิจของชาวอเมริกันในเมือง La Cienaga เช่น Pacific House, Ocean Hotel และร้านค้าของ MacAllister ได้ถูกทำลายอย่างหนักหน่วง กลุ่มชาวบ้านได้ตามเข้าไปทำลายสถานีรถไฟ ที่พวกอเมริกันได้เข้าไปหลบภัยในนั้นอีกด้วย
.
เรื่องราวเริ่มจะบานปลายหนัก เมื่อตำรวจที่เข้ามาจัดการกับเรื่องชุลมุนในเมืองนี้ ซึ่งตอนแรกพวกเขาพยายามควบคุมสถานการณ์อยู่
.
แต่ทว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคือ ผู้รักษาการจังหวัดในเวลานั้น Francisco de Fabrega ได้ออกคำสั่งให้ตำรวจทุกนาย เข้าโจมตีสถานีรถไฟ!!!!
.



จากการโจมตีของตำรวจและกลุ่มคนร้ายที่บุกเข้าไปในอาคาร ทำให้เกิดการสูญเสียถึงชีวิต สถานีรถไฟถูกทำลาย รางรถไฟบางส่วนขาด และสายโทรเลขถูกตัด ความรุนแรงทั้งในและรอบๆ สถานีรถไฟ ได้สิ้นสุดลงในตอนรุ่งเช้า
.
กงสุลสหรัฐฯที่ปานามาซิตี้ ได้รายงานกลับไปยังทางการว่าจากเหตุการณ์นี้ มีชาวอเมริกัน 15 คนถูกสังหาร และอีก 50 คนเป็นอย่างน้อยได้รับบาดเจ็บจากการเข้าทำร้ายในระยะประชิด นอกจากนี้ ชาวปานามา 2 คนถูกสังหาร และอีก 13 คนได้รับบาดเจ็บ
.
ภายหลังการจลาจลในคืนนั้น ทั้งสองฝ่ายได้เริ่มทำการสอบสวนเพื่อหาสาเหตุ ซึ่งจากทางการสหรัฐฯ ได้พุ่งเป้าไปที่ “Miguel Habrahan” ที่ได้ขโมยปืนไปจาก Oliver และส่งสัญญาณไปยังกลุ่ม "Native negros" เพื่อเริ่มการโจมตีโดยไตร่ตรองไว้ล่วงหน้า โดยมีการล่วงรู้ของเจ้าหน้าที่ปานามา
.
ส่วนฝั่งของทางการปานามา ได้ระบุสาเหตุเอาไว้ว่า การจลาจลเกิดขึ้นเองโดย Oliver และรุนแรงขึ้นจากการที่ชาวบ้านโกรธแค้นจากการที่พวกเขาโดนละเมิดและดูถูกในครั้งก่อนจากชาวอเมริกัน พวกเขายังชี้ให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นการสูญเสียงานของชาวบ้าน ที่มาพร้อมกับทางรถไฟที่สร้างเสร็จของสหรัฐฯ และทางการปานามาได้ปฏิเสธการไตร่ตรองล่วงหน้า หรือการรู้เห็นเป็นใจกับเจ้าหน้าที่ตำรวจของปานามา
.
หลังจากเกิดเหตุจลาจลครั้งนี้ ทำให้สหรัฐฯได้ส่งทหารเข้าควบคุมพื้นที่ในบริเวณสถานีรถไฟ จำนวน 160 นายในวันที่ 19 กันยา ปีเดียวกัน แต่ก็ไม่มีเหตุการณ์อะไรรุนแรงขึ้นมาอีก จนทหารได้ถอนทัพกลับในอีก 3 วันถัดมา
.
ซึ่งการที่สหรัฐได้ทำการเข้ามายึดและปกป้องพื้นที่นี้ เป็นไปตาม ข้อตกลง Mallarino-Bidlack ที่ทางสหรัฐฯได้ทำไว้กับสาธารณรัฐ Nueva Granada ที่มีปานามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาเขต เมื่อปี 1846
.
หลังจากนั้นสหรัฐอเมริกา ได้ขอชดใช้ค่าเสียหายจาก Nueva Granada สำหรับความเสียหายและความสูญเสียที่เกิดขึ้นระหว่างการจลาจล ซึ่งทำให้สนธิสัญญา Cass-Herran ได้รับการให้สัตยาบันในปี 1858 และทางการของรัฐ Nueva Granada ได้ยอมรับผิดต่อความล้มเหลวในการรักษาสันติภาพในพื้นที่ มีการจัดตั้งหน่วยงานพิเศษขึ้มาเพื่อตรวจสอบการเรียกร้องและมอบเงินจำนวน 500,000 ดอลลาร์ให้กับพลเมืองสหรัฐฯ ที่ต้องการค่าเสียหายจากการสูญเสียในครั้งนี้
.
และนี่ก็เป็นครั้งแรกๆในการเข้าแทรกแซงของสหรัฐฯ ในปานามา ที่เด่นชัดในตอนนั้น
.

และการจลาจลในครั้งนั้น ก็ได้ถูกตั้งชื่อว่า “Watermelon Riot” เพราะว่าจุดเริ่มต้นการปะทะและจราจลไปทั่วเมืองนั้น มีจุดเริ่มต้นมาจากการที่ คนต่างเมืองคนนึงปฏิเสธการจ่ายเงินค่าแตงโมเพียง ชิ้นเดียว 

      

 
     




ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม