ยุคหินใหม่ (New stone age)

NEW STONE AGE
(ยุคหินใหม่)

-ประวัติ
ยุคหินใหม่ (Neolithic Period หรือ New Stone Age) อยู่ระหว่าง 8,000 – 4,000 ปีมาแล้ว มนุษย์ยุคนี้มีความเจริญทางวัตถุมากกว่ายุคหินกลาง รู้จักควบคุมธรรมชาติมากขึ้น รู้จักพัฒนาการทำเครื่องมือหินอย่างประณีตโดยมีการขัดฝนหินทั้งชิ้นให้เป็นรูปร่างลักษณะต่างๆ เพื่อให้เครื่องมือมีประสิทธิภาพในการใช้สอยมากขึ้นกว่าเครื่องมือรุ่นก่อนหน้านี้ เช่น มีดหินที่สามารถตัดเฉือนได้แบบมีดโลหะ มีการต่อด้ามยาวเพื่อใช้แผ่นหินลับคมเป็นเสียมขุดดิน หรือต่อด้ามไม้สำหรับจับเป็นขวานหิน สามารถปั้นหม้อดินและใช้ไฟเผา สามารถทอผ้าจากเส้นใยพืชและทอเป็นเชือกทำเป็นแหหรืออวนจับปลา ลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งที่จำแนกมนุษย์ยุคหินใหม่ออกจากมนุษย์ยุคหินกลางก็คือการที่มนุษย์ยุคนี้รู้จักการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ในระดับที่ซับซ้อนมากขึ้น
การที่มนุษย์ยุคนี้รู้จักทำการเพาะปลูกและผลิตอาหารได้ ทำให้พวกเขาสามารถอยู่รวมกันเป็นหลักแหล่ง ไม่ต้องเที่ยวเร่ร่อนหาอาหารดังแต่ก่อน จึงทำให้เกิดเป็นสังคมหมู่บ้านขึ้น มีการสร้างกฎเกณฑ์ข้อบังคับมาใช้ในการปกครองเพื่อความสงบสุขของสังคม มีการแบ่งแยกหน้าที่การงานและรู้จักร่วมมือช่วยเหลือกันและกัน

-วัฒนธรรม
เนื่องจากการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในสังคม ทำให้พวกเขามีเวลาว่างที่จะใช้ไปเพื่อการสร้างสรรค์ศิลปะ วัฒนธรรมมากขึ้น ตัวอย่างก็คือการขุดค้นพบซากหมู่บ้านสมัยหินใหม่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ที่สร้างด้วยไม้และดินเหนียวบนเสาที่ปักอยู่ในพื้นทะเลสาบหรือบนที่ลุ่ม ซึ่งแสดงให้เห็นการก่อสร้างที่ใช้เสาทับคานอันเป็นแบบแผนการก่อสร้างพื้นฐานที่ใช้อยู่จนถึงปัจจุบันหรือการสร้างบ้านด้วยดินดิบมุงหลังคาด้วยใบไม้  และการรู้จักประดับลวดลายบนเครื่องปั้นดินเผาที่มีหลายแบบ เช่น ลายเลขาคณิต ลายก้นหอย เป็นต้น




วัฒนธรรมยุคหินใหม่พบอยู่ทั่วโลก แต่หลักฐานสำคัญที่มีลักษณะโดดเด่น คือ การสร้างอนุสาวรีย์หิน (Megalithic) ที่มีชื่อเสียง คือ สโตนเฮนจ์ (Stonehenge) ในประเทศอังกฤษสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเพื่อใช้คำนวณเวลาทางดาราศาสตร์ เพื่อพิธีกรรม เพื่อบวงสรวงดวงอาทิตย์เพื่อผลผลิตทางการเพาะปลูก ส่วนที่เด่นๆของเครื่องปั้นดินเผาประเภทเครื่องประดับก็ ปรากฎอยู่ในแคว้นบริตานีของฝรั่งเศส และไอร์แลนด์ของอังกฤษ



             ในด้านศิลปะพบว่า คนในยุคหินใหม่มีการปั้นรูปสตรีและทารกลักษณะคล้ายรูปแม่พระธรณี อันเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธ์ธัญญาหาร ชุมชนยุคหินใหม่ที่เก่าแก่ที่สุดในตะวันออกกลางบริเวณที่เป็นประเทศ  ตุรกี  ซีเรีย อิสราเอล  อิรัก ภาคตะวันออกของอิหร่าน และเลยไปถึงอียิปต์ในทวีปแอฟริกาในปัจจุบัน  จากหลักฐานทางโบราณคดีแสดงว่า  คนที่อยู่ในบริเวณดังกล่าวได้ค้นพบวิธีการเกษตรกรรมมาประมาณ 7,000  ปีมาแล้ว

-การใช้ชีวิต
คนในยุคหินใหม่ได้เริ่มปฏิวัติการดำรงชีพด้วยการเปลี่ยนวิถีชีวิตจากการล่าสัตว์และหาของป่ามาเลี้ยงสัตว์มาทำการเพราะปลูกแทน เลี้ยงสัตว์ และได้ออกจากถ้ำมาตั้งบ้านเรือนเป็นชุมชน ถือเป็นการปฏิวัติทางสังคมและเศรษฐกิจครั้งสำคัญของมนุษยชาติ การเปลี่ยนวิถีชีวิตมาเป็นเกษตรกรดังกล่าว  นอกจากจะทำให้คนต้องหันมาเลี้ยงสัตว์และฝึกหัดสัตว์ให้เชื่องแล้ว คนยังต้องเรียนรู้การไถหว่าน และเก็บเกี่ยวพืชทางการเกษตรอีกด้วย
              สภาพสังคมขณะนั้นพบว่า  ผู้คนต้องหักร้างถางพงสำหรับการเพาะปลูกมีการทำคอกสำหรับขังสัตว์และสร้างที่พักอาศัยอยู่ถาวรแทนการเร่ร่อน  อาศัยอยู่ในถ้ำเช่นคนหินเก่า เมื่อหลายครอบครัวอาศัยอยู่รวมกันเป็นหมู่บ้านจึงถือว่าหมู่บ้านเกษตรกรเหล่านี้คือหมู่บ้านแห่งแรกของโลก 



มีการดำรงชีวิตตามเศรษฐกิจใหม่ ได้แก่ เกษตรกรรม และพบว่ามีผลิตผลมากกว่าที่จะบริโภค ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนและการค้าขาย ซึ่งดูเหมือนว่ารากฐานความรู้ทางเกษตรกรรมของชาวยุโรปก็รับไปจากบริเวณนี้
เนื่องจากมีการตั้งถิ่นฐานถาวร มีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว สังคมยุคหินใหม่จะซับซ้อนมากขึ้น มีความแตกต่างทางฐานะในสังคม มีการแบ่งงานกันทำ มีการทำงานเฉพาะด้าน และมีการติดต่อกันระหว่างชุมชน ซึ่งอาจเป็นการแลกเปลี่ยนหรือการติดต่อทางวัฒนธรรม



-การแต่งกาย
วัสดุที่นำมาทำเครื่องแต่งกายจะขึ้นอยู่กับการทำงนและสภาพภูมิอากาศเป็นหลัก หนังจึงเป็นเครื่องนุ่งห่มที่สำคัญและบทบาทอย่างมาก มีการรู้จุกนำหนังฟอกมาประกอบเข้าด้วยกันและเย็บ ใช้ด้ายจากเส้นเอ็นสัตว์ ใช้กระดูกทำเครื่องเจาะและทำเป็นเข็ม เสื้อผ้าที่ใช้ในระหว่างยุคหินเก่าตอนปลายไม่ได้แตกต่างจากเสื้อผ้าที่เอสกิโมใส่มากนัก รวมทั้งกระดุมที่ทำจากกระดูกปรุเป็นรู มีการค้นพบพวงร้อย (Festoons) ทำด้วยฟันแมวน้ำอยู่บนโครงกระดูกของผู้หญิงบริเวณเกาะชายฝั่งประเทศสวีเดน สวมเสื้อที่ทำด้วยขนแมวน้ำ กระโปรงหางยาว โดยใช้หนังสัตว์ทำ เรียกว่า (Kaunakes) ที่เมืองสุเมร์ ในสมัยอัคคาเดียน เป็นต้น



การทอจะเกิดในส่วนของภูมิภาคที่เป็นแถบอบอุ่นก่อน และเป็นไปว่ามีต้นกำเนิดจากงานสานตะกร้า ในบางขั้นตอนของการทอกี่กระตุกจึงมีจุดเริ่มต้นมาจากยุคหินเก่า เทคนิคการผลิตมีความสมบูรณ์ขึ้นในตอนปลายยุคหินเก่ามีวิธีการใหม่ในการทำเสื้อผ้า คือการใช้เข็มมีรู และการใช้ด้ายที่มีขนาดเล็ก เครื่องมือยุคหินพัฒนาไปพร้อมการใช้เส้นใยที่หลากหลาย เช่น เปลือกไม้ ต้นแฟลกซ์ที่มีการทออย่างกว้างขวางมีการใช้ผ้าขนสัตว์เช่นกัน
การย้อมสีเครื่องแต่งกาย หลักฐานที่มีอยู่ไม่สามารถบอกได้ว่ามีการย้อมสีหรือไม่ แต่ว่าภาพวาดบนผนังสามารถยืนยันได้ว่ามีการใช้สี รวมถึงจานผสมสี สีน้ำเงิน ได้มาจากต้น Dwart Alden หรือ ต้น Bloodwort Berries หรือไม่ก็ต้น Woad สีม่วงอ่อนสกัดมาจาก ต้น Myntle สีเหลือง จาก Artichoke สีแดงอาจได้จาก White Orach
เครื่องแต่งกายยุคหินใหม่เริ่มมีกระโปรง โค้ต ทูนิครูปตัว T และผ้าคลุมไหล่แบบพันรอบตัว ไม่รัดรูปเข้ากับลำตัว เกิดลายผ้าทอ พร้อมๆกับอัญมณีที่หลากหลายเครื่องแต่งศรีษะและเครื่องแต่งกายจากธรรมชาติ สิ่งทอส่วนใหญ่จะเป็นผ้าชิ้นเดียวที่ใช้แถบแคบๆมาต่อติดกัน ท่อนแรกตัดขวางตามแนวนอนเป็นร่องขนาน ลักษณะเหมือนผ้าเตี่ยวชนิดหนึ่งที่ประกอปขึ้นจากแถบเปียเป็นชุด การใช้ผ้าเตี่ยวนี้พบกระจัดกระจายไปทั่วยุโรปในยุคหิน ในยุคหินเก่าตอนปลาย cape ซึ่งเป็นเสื้อคลุมไม่มีแขนใช้ผูกไว้กับลำคอห้อยคร่อมไปทางด้านหลังพาดทับหัวไหล่ไป ชายทั้ง 2 ข้างมีปลายเป็นปมโดยมีไม้รูปกากบาทยึดติดอยู่ เครื่องประดับที่ใช้ส่วนตัว ประกอบด้วยตาข่ายปิดหน้าอก สายคาด สายคอ และกำไล ทำด้วยเปลือกหอย หินหลากสี ก้างปลา เล็บสัตว์ ผู้ชายจะสวมเครื่อง ประดับมากกว่าผู้หญิง




-อาหารการกิน
มีการปลูกข้าวและพืชอื่นๆ เช่น ถั่ว ฟัก บวบ ข้าวสาลี ข้าวบาเลย์  ลูกเดือย  ข้าวสาลี  ข้าวโพด และพืชอื่นๆ รู้จักใช้เครื่องมือล่าสัตว์และทำภาชนะจากดินเหนียว สำหรับเก็บข้าวเปลือกและใส่อาหาร มีการเลี้ยงสัตว์หลายชนิดมากขึ้น เช่น แพะ แกะ วัว สุนัข ซึ่งก็คงทั้งไว้ใช้งานและเป็นอาหาร ในส่วนของแพะหรือวัวนั้นเป็นการเลี้ยงเพื่อรับประทานเนื้อ นม  และยังคงล่าสัตว์ เช่น กวาง กระต่าย หมูป่า แรด กระจง กระรอก เต่า ตะพาบ หอย ปู และหลาชนิดต่าง ๆ




-เครื่องมือเครื่องใช้
เทคโนโลยีของคนในยุคหินใหม่ทำขึ้นจากวัสดุหลายชนิด เช่น หิน กระดูก และเขาสัตว์ที่แตกต่างจากคนในยุคหินเก่า คือ เครื่องมือเครื่องใช้เหล่านั้นมีประโยชน์ใช้สอยและประณีตมากขึ้นลักษณะของเครื่องมือหินขัดมีหลายรูปแบบตามจุดมุ่งหมายการใช้งาน เช่น ขวาน ขวานถากหรือผึ่ง ขวานมีบ่า จักร สิ่ว เป็นต้น นอกจากนี้ยังสร้างงานหัตถกรรมในครัวเรือน อีกหลายอย่างได้แก่  เครื่องปั่นด้าย เครื่องทอผ้าเครื่องจักสานและเครื่องปั้นดินเผาซึ่งมักทำขึ้นมักทำขึ้นอย่างหยาบ ๆ  ไม่มีการตกแต่งลวดลายมากนัก





รู้จักทำธนู และลูกศร รู้จักนำสุนัขมาเลี้ยง รู้จักใช้หินเหล็กไฟที่ขัดจนบางเรียบใช้หินที่ขัดจนแหลมคมใช้ในการล่าสัตว์และป้องกันตัว รู้จักใช้ไฟในการปิ้งอาหาร รู้จักทำภาชนะดินเผาไว้ใส่อาหาร และรู้จักการสร้างเรือแคนนูจากท่อนซุง นอกจากนี้การเลี้ยงสัตว์ไม่ว่าแพะหรือวัวเพื่อการบริโภคแล้ว ยังเลี้ยงเพื่อเอาหนังมาใช้นุ่งห่มอีกด้วย ซึ่งถือเป็นการปฏิวัติตนเองครั้งแรกของมนุษย์



นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือเครื่องใช้อื่น ๆ เช่น เครื่องปั้นดินเผา พบเป็นภาชนะ เช่น หม้อ ไห จาน ชาม และเครื่องใช้อื่น เช่น ตุ้มถ่วงแห แวดินเผา (ใช้ในการปั้นด้าย) หินดุ (ใช้ในการขึ้นรูปภาชนะดินเผา) เครื่องมือทำจากกระดูกสัตว์ เช่น ฉมวก สิ่ว เบ็ด เครื่องประดับ พบทั้งที่ทำด้วยหินกระดูก และเปลือกหอย เช่น กำไล ลูกปัด จี้ เครื่องจักสาน มักพบเป็นรอยพิมพ์ของเครื่องจักสานอยู่บนภาชนะ หรือในดิน




-ที่อยู่อาศัย
สภาพชีวิตมนุษย์ในยุคหินใหม่ เปลี่ยนแปลงชีวิตตามความเป็นอยู่จากที่สูงมาอยู่ที่ราบใกล้แหล่งน้ำ โดยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นหมู่บ้านบนเนิน สมัยหินใหม่จัดเป็นการปฏิวัติครั้งแรกของมนุษย์ ที่ประสบความสำเร็จขั้นต้นในการปรับตัวให้เข้ากับข้อจำกัดของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่ต้องร่อนเร่ย้ายถิ่น และเป็นช่วงเวลา เริ่มต้นการรวมกลุ่มเป็นหลักแหล่ง ในบริเวณที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์



-ยุคหินใหม่ในไทย
แหล่งโบราณคดียุคหินใหม่พบอยู่ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ในสภาพภูมิประเทศแตกต่างกันเนื่องจากปัจจัยในการตั้งถิ่นฐาน เช่น พื้นที่ทำการเกษตร แหล่งวัตถุดิบในการทำเครื่องมือเครื่องใช้ แหล่งน้ำ เป็นต้น แหล่งโบราณคดียุคหินใหม่ที่พบส่วนใหญ่อยู่ตาม ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่ดอน ที่ราบสูง ถ้ำเพิงผา และชายฝั่งทะเลซึ่งอยู่ใกล้แหล่งน้ำจืด ตัวอย่าง เช่น บ้านเก่า ในเขตลุ่มน้ำแควน้อย อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี โคกเจริญ ในเขตลุ่มแม่น้ำป่าสัก อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ถ้ำพระตำบลไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ถ้ำสิงขร อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี โคกพนมดี ในเขตชายฝั่งทะเลเดิม อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี บึงไผ่ดำ ในเขตชายฝั่งทะเลเดิม อำเภอน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา โนนนกทา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
บ้านเก่าเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วโลกแหล่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ในตำบลจระเข้เผือก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี นายแวน ฮีกเกอเร็นนักโบราณคดี ชาวเนเธอร์แลนด์ซึ่งเป็นเชลยศึกในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้พบเครื่องมือหินกะเทาะในบริเวณริมแม่น้ำแควน้อยที่บ้านเก่าระหว่างการสร้างทางรถไฟสายมรณะ จากนั้นจึงมีการสำรวจบริเวณนี้อีกหลายครั้งจนกระทั่งใน พ.ศ. 2503 เป็นต้นมา รัฐบาลไทยและรัฐบาลเดนมาร์กจึงได้ร่วมกันจัดทำโครงการสำรวจและขุดค้นอย่างเป็นระบบขึ้น ซึงเป็นการดำเนินการทางโบราณคดีอย่างเป็นระบบครั้งแรกในประเทศไทย



จากการขุดค้นได้พบเครื่องมือหินขัด เครื่องปั้นดินเผา กระดูกสัตว์ เปลือกหอย และโครงกระดูกมนุษย์เป็นจำนวนมาก เครื่องมือหินขัดที่พบเป็นขวานหินขัดที่มีลักษณะแบบผึ่งหรือขวานถาก สิ่วหินขัด หัวลูกศรปลายหอก หินลับ หินบด และจักรหินหรือแผ่นหินทำเป็นรูปวงกลมเจาะรูตรงกลาง กระดูกสัตว์ เขาสัตว์ และเปลือกหอยพบทั้งที่เหลือจากการบริโภคและที่ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น หัวลูกศร ปลาย หอก เบ็ด สิ่ว เข็ม และเครื่องประดับ ภาชนะดินเผาสมัยหินใหม่ที่บ้านเก่าพบเป็นจำนวนมากและมีรูปแบบต่าง ๆ กัน เช่น หม้อ ชาม กระปุก พาน และที่สำคัญจนถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของสมัยหินใหม่ที่บ้านเก่า คือ หม้อสามขา ภาชนะดินเผาเหล่านี้นอกจากจะพบเป็นเครื่องใช้แล้วยังพบอยู่ในหลุมฝังศพซึ่งอาจเป็นภาชนะใส่เครื่องเซ่นสำหรับผู้ตายจากการเปรียบเทียบภาชนะดินเผาวาคล้ายคลึงกันกับภาชนะดินเผาของวัฒนธรรมลุงซานในประเทศจีน นอกจากภาชนะดินเผาแล้วยังพบเครื่องปันดินเผาชนิดอื่น เช่น ลูกกระสุนดินเผา แวดินเผา เป็นต้น



หลักฐานสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่พบมากในแหล่งโบราณคดียุคหินใหม่คือ หลุมฝังศพ ซึ่งมักจะฝังในลักษณะนอนหงายเหยียดยาว ศพที่ฝังงอตัวหรือฝังในภาชนะดินเผาพบไม่มากนัก ภายในหลุมฝังศพมีเครื่องเซ่น เช่น อาหาร ภาชนะดินเผา ขวานหินขัด และมีเครื่องประดับตกแต่งศพ เช่น กำไล ลูกปัด จี้ทำด้วยวัสดุต่าง ๆซึ่งการฝังศพนี้แสดงให้เห็นความเชื่อเกี่ยวกับชีวิตและการตายของมนุษย์จนก่อเกิดประเพณีการฝังศพ นอกจากนี้แล้วบางครั้งพบพิธีกรรมที่ทำกับศพ เช่น มัดศพ กรอฟันศพ เป็นต้น โครงกระดูกมนุษย์จำนวนมากขุดค้นพบที่บ้านเก่า มักถูกฝังนอนหงายเหยียดยาว ตกแต่งศพด้วยเครื่องประดับ เช่น ลูกปัด กำไล มีความเชื่อในการกรอหรือถอนฟันของผู้ตายก่อนจะฝัง นอกจากนี้ยังมีการฝังเครื่องเซ่นเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ และอาจมีการฝังอาหารสำหรับผู้ตายด้วย



สมัยหินใหม่ที่บ้านเก่านี้มีอายุประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว และมีการอยู่อาศัยต่อเนื่องมาจนเข้าสู่ยุคโลหะ ข้อมูลและหลักฐานเกี่ยวกับสมัยหินใหม่ที่บ้านเก่า ปัจจุบันจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเก่า ซึ่งสร้างในบริเวณที่มีการดำเนินงานขุดค้น



จัดทำโดย
1.นายธนกร  เครืออยู่  เลขที่ 13
2.นายนนทวัธ  อินต๊ะปัญญา  เลขที่ 17
3.นายนพรุจ  สิทธิวงศ์วานิจ  เลขที่ 18
4.นายศักรพิศิษฏ  ยืนยงค์  เลขที่ 25
5.นายสิทธิพงศ์  สุรวงค์  เลขที่ 29

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2

โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม